วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัญหากับการเลี้ยงกุ้งปัจจุบัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำที่มีคุณภาพด้อย
ลงอันเนื่องมาจากการขยายตัวของฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทยที่มีเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ท้องที่ทำให้การเลี้ยง
ต้องมีความเสี่ยงต่อกุ้งเป็นโรคตายสูงมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนามีการปล่อยกุ้ง
อย่างหนาแน่น และขาดระบบการควบคุมป้องกันของเสียที่ปล่อยออกมา แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในทุก
ระบบไม่ว่าจะเป็นระบบความเค็มปกติหรือระบบความเค็มต่ำ หรือระบบน้ำหมุนเวียน หรือระบบปิดสนิมก็ตามการ
จัดการเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงมีความสำคัญมาก ผู้เลี้ยงกุ้งต้องมีความรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพของกุ้งการเจริญเติบโต
และผลผลิตคุณสมบัติของน้ำที่มีความสำคัญในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีดังนี้
1. ความเค็ม
กุ้งกุลาดำเป็นกุ้งที่มีความสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มในช่วงกว้างและถ้าความเค็มเปลี่ยน-
แปลงลดลงอย่างช้า ๆ สามารถปรับตัวอยู่ที่ความเค็มเป็นศูนย์เป็นเวลานานพอสมควร หรือความเค็มที่เพิ่มขึ้นจนถึง
45 พีพีทีแต่ความเค็มที่เหมาะสม และการเจริญเติบโตดีที่สุดคืออยู่ระหว่าง 15-20 พีพีที แต่ในปัจจุบันเราพบว่า
การเลี้ยงกุ้งที่ความเค็ม 3-10 พีพีที จะเลี้ยงกุ้งได้ง่ายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องความเสียหายจากโรคกุ้งน้อยมาก
โดยเฉพาะปัญหาจากโรคแบคทีเรียเรืองแสงในบ่อกุ้งเป็นต้น เกษตรกรหลายรายจึงได้หันมาเลี้ยงกุ้งในระบบความ
เค็มต่ำมากขึ้น
2. พีเอช (ความเป็นกรดเป็นด่าง)
พีเอชของน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของกุ้งกุลาดำมาก เนื่องจากพีเอชของน้ำมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำตัว
อื่น ๆ อีกเช่นมีผลต่อความเป็นพิษของแอมโมเนียไนไตรท์และไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นต้น พีเอชของน้ำที่เหมาะสมแก่
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ควรอยู่ระหว่าง 7.5-8.5 การเปลี่ยนแปลงของพีเอชในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
เช่น คุณสมบัติของดิน ค่าอัลคาไลน์นิตี้ การผลิตและการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณ
แพลงก์ตอนพืชน้ำที่ผ่านบริเวณที่ดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยวจะมีพีเอชต่ำ
เนื่องจากความเป็นกรดที่ละลายออกมาจากเนื้อดินจะทำให้พีเอชของน้ำต่ำโดยทั่วไปแล้วดินบริเวณป่าชายเลนมักจะ
เป็นดินเปรี้ยว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไพไรท์ ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างเหล็กและกำมะถันในชั้นดินในสภาพที่
ขาดออกซิเจน ลักษณะดินส่วนมากมักจะมีการสะสมของสารอินทรีย์จากพืชต่าง ๆ สูง ดินพวกนี้เมื่อขุดขึ้นมาสัมผัส
อากาศ ไพไรท์จะถูกออกซิไดซ์เป็นกรดกำมะถัน (กรดซัลฟูริค)พีเอชของดินจะต่ำในบริเวณที่ดินเป็นกรดเหล่านี้เมื่อ
สูบน้ำเข้าไปในบ่อจะเห็นได้ชัดว่าน้ำจะมีสีส้มและมีตะกอนสนิมเหล็กเป็นจำนวนมาก การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้โดย
ใช้น้ำล้างบ่อหลาย ๆ ครั้ง เมื่อล้างจานเพียงพอแล้วเติมน้ำเข้าบ่อให้ระดับน้ำในบ่อสูงกว่าหรือเสมอกับบ่อข้างเคียง
แล้วเติมวัสดุปูนหากน้ำในบ่อมีพีเอชที่ต่ำมากแพลงก์ตอนในบ่อจะเกิดขึ้นยากเกษตรกรต้องปรับพีเอชน้ำให้ได้ค่า
ตอนเช้าประมาณ 6.00 น.สูงประมาณ 7.5 จะช่วยให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น ระหว่างการเลี้ยงต้อง
ตรวจเช็คค่าพีเอชน้ำอยู่เสมอเมื่อพบว่าพีเอชน้ำเริ่มต่ำกว่า 7.5 ให้รีบเติมวัสดุปูนเพื่อดึงค่าพีเอชขึ้นมาในบ่อที่มี
แพลงก์ตอนพืชมากหรือในบ่อที่มีสีน้ำเข้มจัด การเปลี่ยนแปลงของพีเอชในรอบวันจะมากขึ้นด้วย โดยพีเอชของน้ำ
จะต่ำสุดในตอนเช้ามืดเมื่อมีการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์จากการเน่าสลายของเสียและการหายใจของกุ้งและ
แพลงก์ตอนรวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในบ่อส่วนในตอนบ่ายพีเอชของน้ำจะสูงที่สุดเนื่องจากการสังเคราะห์แสงของ
แพลงก์ตอนพืชมีการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยทั่วไปพีเอชของน้ำในรอบวันไม่ควรแตกต่าง
มากกว่า 0.5
การเปลี่ยนแปลงพีเอชของน้ำในรอบวันมากเกินไปจะมีผลทำให้กุ้งเครียดมีผลต่อการเจริญเติบโตด้วย การแก้
ปัญหาโดยการลดปริมาณแพลงก์ตอนหรือถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อลดความเข้มของสีน้ำ หรือในกรณีที่ค่าอัลคาไลน์ในน้ำ
ต่ำ จำเป็นต้องมีการเติมวัสดุปูน เพื่อเพิ่มระดับค่าอัลคาไลน์จะทำให้พีเอชของน้ำตอนเช้าและตอนบ่ายเปลี่ยนแปลง
น้อยลง ส่วนในกรณีที่พีเอชในน้ำตอนบ่ายสูงมาก เนื่องจากมีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ไปในการสังเคราะห์แสง
มากการเปิดเครื่องให้อากาศแบบเคล้าน้ำแทนการใช้ใบพัดตีน้ำจะทำให้การเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนไม่มากนัก
ซึ่งมีผลให้พีเอชของน้ำไม่สูงจนเกินไป
3. ค่าอัลคาไลน์ในน้ำหรืออัลคาไลนิตี้ (Alkalinity)
โดยทั่วไปหมายถึงปริมาณหรือความสามารถในการเป็นด่างของน้ำ ซึ่งจะรวมปริมาณของคาร์บอเนต (Co32-)
ไบคาร์บอเนต (HCO3) และไฮดรอกซี่กรุ๊ป (OH-) เรียกรวมว่า อัลคาไลน์รวมค่า อัลคาไลน์ เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง
ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้ง โดยจะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับค่าพีเอชซึ่งค่าอัลคาไลน์จะเป็น
ตัวรักษาระดับพีเอชน้ำในบ่อให้คงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดและช่วยในการรักษาสีน้ำค่าอัลคาไลน์ในน้ำที่
เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือ 80-160 พีพีเอ็ม โดยทั่วไปการรักษาระดับอัลคาไลน์ให้คงที่นั้น จะใช้วัสดุปูน
ในกลุ่มคาร์บอเนต ส่วนการเพิ่มอัลคาไลน์อาจจะให้โซเดียมไบคาร์บอเนตหรือโซเดียมคาร์บอเนตแล้วแต่ระดับพีเอช
ของน้ำ
4. ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีผลต่อการกินอาหาร การเจริญเติบโตและสุขภาพกุ้งถ้าปริมาณออกซิเจนต่ำเกินไป
อาจมีผลทำให้กุ้งตายได้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในบ่อจะเปลี่ยนแปลงคล้ายกับพีเอชคือมีค่าต่ำสุดตอนเช้ามืดเนื่องจาก
การใช้ไปในการย่อยสลายของสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์และการหายใจสิ่งมีชีวิตในบ่อ หลังจากแพลงก์ตอนพืชเริ่มมีการ
สังเคราะห์แสง ปริมาณออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในตอนบ่ายความสามารถในการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับ
อุณหภูมิและความเค็ม น้ำที่มีความเค็มและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นออกซิเจนละลายได้น้อยลง เช่นที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส
จุดอิ่มตัวของออกซิเจนในน้ำจืดเท่ากับ 7.54 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)แต่เมื่อความเค็มเพิ่มขึ้นเป็น 35 พีพีที ออกซิเจน
จะอิ่มตัวที่ 6.22 พีพีเอ็ม
ปัญหาการขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำจะพบในบ่อเลี้ยงกุ้งที่ปล่อยกุ้งไปในปริมาณมากหรือมีกุ้งติดมากแต่มี
เครื่องให้อากาศไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงเดือนสุดท้าย ในบ่อที่มีกุ้งหนาแน่นเมื่อมีการให้อาหารในปริมาณที่มากใน
แต่ละวัน เศษอาหารที่เหลือและของเสียที่กุ้งขับถ่ายออกมามากนั้นจะมีการดึงออกซิเจนไปใช้ในการย่อยสลายสิ่งเหล่านี้
รวมทั้งการหายใจของแพลงก์ตอนที่มีหนาแน่นและการหายใจของกุ้งที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในบ่อจะมีผลทำให้ออกซิเจนใน
ตอนเช้าลดต่ำลงมามากถ้ามีกุ้งในปริมาณมากและเครื่องให้อากาศไม่เพียงพอ กุ้งอาจจะลอยตามผิวน้ำตั้งแต่ตอนกลางคืน
หลังเที่ยงคืนจนถึงตอนเช้ามืด เมื่อออกซิเจนที่ละลายในน้ำอยู่ในช่วง 1.7-2.0 พีพีเอ็ม ปริมาณออกซิเจนที่สูงกว่าระดับนี้
กุ้งจะไม่ลอย แต่พบว่าถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 3.0 พีพีเอ็ม กุ้งจะไม่แข็งแรง การกินอาหารจะลดต่ำลงกว่าปกติ ในช่วงที่กุ้ง
กำลังลอกคราบ ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกุ้งอาจจะลอกคราบแล้วตายได้ ดังนั้นควรจะวัดค่าออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอเป็น
ประจำวันอย่างน้อยวันละครั้งในช่วงเช้า หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง สำหรับบ่อที่มีการเลี้ยงกุ้งอย่างหนาแน่น เพื่อเป็นข้อมูล
ในการเลี้ยง และเป็นแนวทางในการเลี้ยงกุ้งในรุ่นต่อ ๆ ไป การวัดค่าออกซิเจนควรจะวัดในบริเวณที่ลึกที่สุดของบ่อ หรือ
ก้นบ่อ เนื่องจากกุ้งกุลาดำจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่บริเวณพื้นบ่อปริมาณออกซิเจนในน้ำควรอยู่ระหว่าง 4 พีพีเอ็มถึงจุดอิ่มตัว
การแก้ปัญหาเรื่องการขาดออกซิเจนในบ่อที่มีกุ้งอย่างหนาแน่นและกุ้งมีขนาดใหญ่ ต้องมีเครื่องให้อากาศและการเปลี่ยน
ถ่ายน้ำอย่างพอเพียง
5. สารประกอบไนโตรเจน (แอมโมเนีย และไนไตรท์)
แอมโมเนียและไนไตรท์ เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นพิษต่อกุ้งและสัตว์น้ำแหล่งของสารประกอบไนโตรเจนใน
น้ำส่วนใหญ่มาจากสารอินทรีย์ ซึ่งอาจเกิดจากขบวนการเน่าสลายของเศษอาหารที่เหลือแพลงก์ตอนที่ตายเศษซากพืชซาก
สัตว์และสารอินทรีย์อื่น ๆ โดยจุลินทรีย์ แล้วปล่อยแอมโมเนียออกมาสู่แหล่งน้ำโดยตรงเช่นกัน ในสภาวะที่มีออกซิเจน
แบคทีเรียจำพวกไนตริไฟอิ้งแบคทีเรีย (nitrifying bacteria) จะเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นไนไตรท์และไนเตรทตาม
ลำดับแอมโมเนียเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นพิษต่อกุ้งและสัตว์น้ำเช่นเดียวกับไนไตรท์ แอมโมเนียที่พบอยู่ในน้ำ
จะอยู่ในสองรูปแบบคือ แอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และแอมโมเนียอิออน(NH4+) ซึ่งไม่เป็นพิษต่อสัตว์
น้ำในการวัดแอมโมนียโดยทั่วไปจะวัดรวมทั้งสองรูป แอมโมเนียทั้งสองรูปแบบนี้จะเปลี่ยนกลับไปกลับมาตามพีเอชของ
น้ำและอุณหภูมิของน้ำ โดยเฉพาะพีเอชของน้ำที่สูงขึ้นอัตราส่วนของแอมโมเนีย(NH3) จะสูงขึ้น ทำให้ความเป็นพิษ
ต่อสัตว์น้ำมีมากขึ้น แต่ถ้าพีเอชของน้ำลดลง แอมโมเนียในรูปแอมโมเนียอิออนจะมีในอัตราส่วนที่มากขึ้น ทำให้ความ
เป็นพิษต่อสัตว์น้ำลดลง
เมื่อแอมโมเนียในน้ำปริมาณสูงขึ้น จะมีผลให้การขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้งทำได้น้อยลงทำให้เกิดการสะสมของ
แอมโมเนียในเลือดและเนื้อเยื่อ ส่งผลให้พีเอชของเลือดเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์ แอมโมเนียจะทำให้
การใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อสูงขึ้น แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและความสามารถในการขนส่งออกซิเจนและทำให้กุ้ง
อ่อนแอติดโรคได้ง่าย ระดับความเข้มข้นของแอม-โมเนียที่ทำให้สัตว์น้ำตายโดยปกติอยู่ในช่วง 0.4-2.0 มิลลิกรัมต่อ
ลิตรในรูปของ NH3 ในการทดลองแบบพิษเฉียบพลันระหว่าง 24-72 ชั่วโมง แต่สำหรับกุ้งมีรายงานว่า แอมโมเนีย
ที่ความเข้มข้น 1.29 มิลลิกรัมต่อลิตรในรูป NH3 จะทำให้กุ้งตายได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 48 ชั่วโมงความ
เป็นพิษของไนไตรท์ต่อสัตว์น้ำเกิดจากการที่ไนไตรท์ไปออกซิไดซ์เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบฮีโมโกลบิน ทำให้กลายเป็น
เมทธีโมโกลบินซึ่งไม่สามารถขนถ่ายออกซิเจนได้ ทำให้เกิดการตายเนื่องจากการขาดออกซิเจน และคาดว่าขบวนการ
เช่นเดียวกันนี้อาจเกิดกับฮีโมไซยานินของพวกกุ้งระดับความเป็นพิษของไนไตรท์จะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ
(DO) และค่าพีเอชน้ำลดลง นอกจากนี้ความเป็นพิษของไนไตรท์จะถูกยับยั้งโดยคลอไรด์ในน้ำดังนั้นในน้ำทะเลซึ่งมี
คลอไรด์สูงความเป็นพิษของไนไตรท์ต่อสัตว์น้ำจึงค่อนข้างต่ำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ใช้น้ำทะเลโดยตรงนั้นปัญหาของ
ความเป็นพิษของไนไตรท์ต่อกุ้งจะน้อย แต่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในระบบความเค็มต่ำซึ่งน้ำในบ่อมีปริมาณของ
คลอไรด์ในน้ำน้อย ปัญหาความเป็นพิษของไนไตรท์ในบ่อกุ้งจึงเกิดได้ง่ายกว่า การใส่เกลือหรือเติมเกลือลงในน้ำจึงมี
ความจำเป็นอย่างมากหากพบว่าค่าไนไตรท์ในบ่อสูง
การป้องกันหรือแก้ปัญหาเรื่องความเป็นพิษของแอมโมเนีย และไนไตรท์สูง โดยการควบคุมการให้อาหารไม่ให้เกลือ
การควบคุมค่าของพีเอชในบ่อให้อยู่ระหว่าง 7.5-8 อีกทั้งมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำและการให้อากาศที่พอเพียงปัญหาความเป็น
พิษจากสารประกอบไนโตรเจนทั้งสองตัวนี้จะหมดไป
6. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า)
ในสภาพที่ขาดออกซิเจน แบคทีเรียบางชนิดจะสามารถใช้กำมะถัน (ซัลเฟอร์) ในรูปซัลเฟต และสารประกอบกำมะถัน
ตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปออกซิไดซ์และเปลี่ยนสาร (ซัลเฟอร์) ประกอบเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของซัลไฟด์ ซึ่งจะอยู่ในสามรูปแบบคือ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S), HS-, HS= และ S= จะขึ้นอยู่กับพีเอชของน้ำ น้ำที่มีพีเอชต่ำจะมีเปอร์เซ็นต์ของ H2S สูง
แต่เมื่อพีเอชสูงขึ้น เปอร์เซ็นต์ H2S จะลดลง แต่มี HS- และ S= มากขึ้นความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำลดลงด้วย
ตารางแสดงเปอร์เซ็นต์ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
ที่พีเอชต่าง ๆ กัน
อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
พีเอช เปอร์เซ็นต์
5.0
5.5
6.0
6.5
7.0
7.5
8.0
8.5
9.0 99.0
97.0
91.1
76.4
50.6
24.4
9.3
3.1
1.0

ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการขาดออกซิเจน เนื่องจากไปขัดขวางออกซิเจนภายใน
เซลล์ทำให้ปริมาณแลกเตท (lactate) ในเลือดสูงขึ้น ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด ์จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจน
ระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงสุดที่ไม่เป็นอันตรายต่อกุ้งกุลาดำคือ 0.033 พีพีเอ็ม การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์
ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ส่วนใหญ่มาจากการให้อาหารมากเกินไป หรือแพลงก์ตอนพืชตายเป็นจำนวนมากแล้วเกิดการเน่าสลาย
พื้นบ่อที่มีสีดำและมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า เป็นลักษณะการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ การแก้ปัญหาทำได้โดยเพิ่มเครื่องให้อากาศ ดูด
เลนหรือตะกอนสีดำที่เน่าเสียพื้นบ่อออกไป(เก็บในบ่อเก็บเลน) และมีการถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อระบายของเสียพื้นบ่อที่อาจจะฟุ้ง
กระจายในขณะที่ดูดเลน เพิ่มพีเอชของน้ำโดยเฉพาะในระดับพื้นบ่อโดยการใช้วัสดุปูนละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ ความเป็นพิษ
ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ก็จะลดลง แต่การป้องกันที่ดีที่สุดคือรักษาพื้นบ่อให้สะอาดและระดับออกซิเจนสูงตลอดระยะเวลาใน
การเลี้ยงจะไม่เกิดปัญหาเรื่องก๊าซไข่เน่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น